ผู้ประกอบการนำเข้า ควรศึกษาข้อมูล และขั้นตอนการขอใบอนุญาตนำเข้าจาก อย. เนื่องจากการนำเข้าสินค้าจากจีนกับบริษัทชิปปิ้งนั้น ส่วนใหญ่ผู้นำเข้าต้องยื่นขอใบอนุญาตด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน การขอใบอนุญาต อย. สามารถติดต่อขอได้ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center : OSSC), สำนักงานสารณสุขจังหวัด (สสจ.) และยื่นคำขออนุญาตทางอินเทอร์เน็ต (E-Submission) ทั้งนี้การนำเข้ามีขั้นตอนและวิธีดำเนินการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ อาทิ
สำหรับการยื่นขออนุญาตนำเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ 16 รายการเข้ามาในราชอาณาจักร มีขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการขอใบอนุญาตนำเข้าหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการจดแจ้งเภสัชเคมีภัณฑ์
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการขอหนังสือรับรองการนำเข้าหรือสั่งสารในกลุ่ม 16 รายการ โดยยื่นเอกสารตามแบบคำขอ ได้แก่ กรณีเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ใช้แบบ ช.ว. กรณียาสำเร็จรูปสำหรับมนุษย์ ใช้แบบ ช.ม. กรณียาสำเร็จรูปสำหรับสัตว์ ใช้แบบ ช.ส.
* ขณะเดียวกันการนำเข้าหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา (น.ย.ม. 1) มีความจำเป็นต้องมีหนังสือนำส่งจากบริษัท
- ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง
การนำเข้าสินค้าจากจีนผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางนั้น ผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
- จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
- จดแจ้งเครื่องสำอางก่อนการผลิตหรือการนำเข้า
- เครื่องสำอางที่ผลิตหรือนำเข้าต้องไม่มีสารต้องห้ามและใช้สารตามที่กฎหมายกำหนด
- ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และมีจำนวนจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
รายละเอียดที่แจ้ง
- ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง
- วัตถุประสงค์ในการใช้และวิธีการใช้
- สารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม
วิธีการจดแจ้ง
- มาแสดงตนกับ อย. หรือ สสจ. (กรณีที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด) เพื่อขอรหัสผู้ประกอบการ
- ยื่นคำขอจดแจ้ง (ระบุตรงตามความจริง) ได้ 2 ช่องทางคือ ยื่นเอกสารที่ อย. หรือ สสจ. และส่งคำขอผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ อย.
- เมื่อได้รับใบจดแจ้งแล้ว จึงสามารถผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางได้
เมื่อได้รับใบจดแจ้งเครื่องสำอางเรียบร้อย ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าควรดำเนินการต่อไปนี้
- ต้องผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางให้ตรงตามที่ได้จดแจ้งเอาไว้
- จัดทำฉลากภาษาไทย ที่มีข้อความจำเป็น ครบถ้วนก่อนวางจำหน่าย
- โฆษณาด้วยข้อความที่เป็นจริง มีเอกสารหลักฐานพร้อมพิสูจน์ ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
- ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือแพทย์
ผู้ต้องการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จะต้องมีการจดทะเบียนสถานประกอบการก่อนการนำเข้า โดยใบจดทะเบียนมีอายุ 5 ปี สามารถศึกษาจากคู่มือได้ที่นี่ คลิก
สำหรับสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
- จดทะเบียนสถานประกอบการ
- การขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ประกอบด้วย การขออนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์, การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้รับอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์, การขอต่ออายุใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และการขอใบแทนใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์
- การแจ้งรายละเอียดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์
- การขอนำเข้าเครื่องมือแพทย์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2549
หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาผลิตภัณฑ์ ที่สามารถยื่นขอผ่อนผันการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ได้แก่
- เครื่องมือแพทย์ที่เป็นส่วนประกอบ เช่น ส่วนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องมือแพทย์ ที่ไม่อาจแยกใช้เป็นเอกเทศได้
- เพื่อใช้เฉพาะตัว
- เพื่อเป็นตัวอย่าง
- เพื่อการศึกษา
- เพื่อการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน
- เพื่อบริจาคให้แก่หน่วยงานของรัฐ
- เพื่อใช้ในหน่วยงานรัฐ
- เพื่อใช้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลของเอกชน โดยมีหนังสือรับรอง ของบุคคลอื่นที่ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- เพื่อซ่อมแซมหรือสอบเทียบความถูกต้องและส่งออกนอกราชอาณาจักร
- เพื่อนำเข้าหลังจากส่งไปซ่อมแซม หรือสอบเทียบความถูกต้องนอกราชอาณาจักร
การจัดประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพในแต่ละประเทศ อาจแตกต่างกันได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะนำเข้าประเทศไทย ต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบ ข้อกำหนด และกฎหมายของประเทศไทย เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นมาตรฐานในการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
นอกจากนี้การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ หรือจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากจีน ยังต้องมีเอกสารประกอบการนำเข้าที่ต้องใช้เพื่อผ่านพิธีศุลกากร สามารถปรึกษา TEG Logistics ได้
*กรณีนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ต้องมีสถานที่เก็บสินค้า เอกสารของผู้ผลิต เช่น ส่วนผสม และใบรับรองต่างๆ ก่อนไปขออนุญาต อย.